“ฝีดาษลิง” กับ 5 เรื่องควรรู้ พบเร็วลดเสี่ยงแพร่ระบาดได้

0
126
สมัคร mm88

มีหลายเรื่องที่เราควรทราบเกี่ยวกับฝีดาษลิง แม้จะเป็นโรคที่น่ากลัว แต่รับมือกับโรคนี้ได้ไม่ยากอย่างที่คิดแน่นอน

ผศ. นพ. โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเผยว่า โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตระกูล ออโธพอกซ์ (orthopox) จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือ การรับประทานเนื้อสัตว์ตระกูลสัตว์ฟันแทะ ซึ่งเมื่อติดเชื้อในคนจะทำเกิดอาการไข้ มีผื่นตุ่มน้ำ ตุ่มหนองตามร่างกาย คล้ายโรคฝีดาษ(smallpox) ที่ถูกกำจัดไปแล้วในไปปี ค.ศ 1968 

“ฝีดาษลิง” กับ 5 เรื่องควรรู้ พบเร็วลดเสี่ยงแพร่ระบาดได้

  1. เชื้อไวรัสของฝีดาษลิง สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้

ต้นกำเนิดของโรคอาจมาจากลิง แต่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้เช่นกัน ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด

  1. ผู้ป่วยฝีดาษลิงอาจเป็นแล้วแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว

เนื่องจากเชื้อไวรัสของฝีดาษลิงมีระยะฟักตัวนานได้ถึง 21 วัน และในบางรายพบว่าอาการผื่นตุ่มน้ำเกิดขึ้นเพียงในเยื่อบุช่องปาก และที่อวัยวะเพศถึง 60% คล้ายกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างเริม หรืออาจจะเป็นเชื้อซิฟิลิส ทำให้ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคฝีดาษลิง ทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อต่อไปยังผู้อื่นได้ ผู้ที่มีประวัติสัมผัสเสี่ยงสูง มีความจำเป็นต้องกักตัวเพื่อสังเกตอาการอย่างน้อย 3 สัปดาห์ จึงจะสามารถสังเกตอาการที่ชี้ชัดได้ว่าเป็นผู้ป่วยติดเชื้อหรือไม่ 

  1. ฝีดาษลิง สามารถรักษาได้ด้วยยาต้านไวรัส

ถึงแม้จะยังไม่ใช่ยามาตรฐานเฉพาะสำหรับโรค แต่สามารถใช้ยารักษาฝีดาษในมนุษย์ได้ ได้แก่ Tecovirimat และ Cidofovir, Brincidofovir ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงต่อตับได้เพียงเล็กน้อย และเนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถหายได้เองในผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรง และอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม การใช้ยาต้านไวรัส ยังมีความจำเป็นเฉพาะผู้ป่วยบางรายได้เท่านั้น ที่มีความเสี่ยงอันตรายจากโรคถึงชีวิต เช่นผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด

  1. ตอนนี้ยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษลิง

ประชาชนทั่วไปยังไม่มีความจำเป็นต้องรับการฉีดวัคซีนเหมือนกับโรคระบาดอื่นๆ เช่นโควิด-19 เนื่องจากโอกาสในการแพร่ระบาดยังเป็นวงจำกัด วัคซีนจึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ติดเชื้อ ได้แก่ แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์เจ้าหน้าที่พยาบาล ที่มีโอกาสสัมผัสโรคนี้ รวมถึงสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย ซึ่งสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังจากมีความเสี่ยง

  1. ฝีดาษลิง กลายพันธุ์ได้เหมือนโควิด-19 อยู่ในช่วงเฝ้าระวัง

ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า การระบาดของโรคฝีดาษลิงพร้อมกันกว่า 100 รายในหลายประเทศนอกทวีปแอฟริกา (ซึ่งถือเป็นโรคประจำถิ่น) ทั้งในยุโรบ สหรัฐอเมริกา และ ออสเตรเลีย มาจากฝีดาษลิงที่กลายพันธุ์ 

จากการศึกษาในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีการกลายพันธุ์เร็วขึ้นเป็น 1 ตำแหน่งต่อเดือน จากเดิมเพียง 1 ตำแหน่งต่อปี ซึ่งการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงอันตรายที่ต้องเตรียมรับมือ โดยเชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะเข้ามาในประเทศไทยในอนาคต 

อย่างไรก็ตาม หากสงสัยว่ามีการระบาดของโรคฝีดาษลิงในคนเกิดขึ้นในประเทศเป็นจำนวนมาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถทำการ PCR “สวอป” น้ำลาย ส่วนน้ำหรือหนองจากตุ่มแผล ทำการสกัดสารพันธุกรรม (nucleic acid purification) ส่งมายังศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ เพื่อให้ร่วมด้วยช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมได้

mm88