วิธีรับมือ ติดโควิด-19 โอมิครอน ทำอย่างไรบ้าง?

0
132
สมัคร mm88

โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนแพร่ระบาดอย่างหนักจนมีผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นคนที่ใกล้ชิดของเรามากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเช่นเดียวกัน แม้กระทั่งคนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อนหน้านี้ก็ยังติดเชื้อเป็นครั้งที่ 2 ได้ อีกทั้งวัคซีน 2-3 เข็มที่ฉีดไปก็ยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ไม่มากพอสำหรับสายพันธุ์โอมิครอน

ในภาวะที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ หากติดโควิด-19 ขึ้นมาควรทำอย่างไรบ้าง

วิธีรับมือ ติดโควิด-19 โอมิครอน ทำอย่างไรบ้าง?

เมื่อเรามีอาการต้องสงสัย เช่น ปวดคอ มีน้ำมูก ไอ หรืออาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป ควรตรวจด้วยชุดตรวจด้วยตัวเองแบบ ATK ก่อน และเมื่อได้ผลตรวจเป็น 2 ขีดหรือติดเชื้อ จึงค่อยดำเนินการต่อไป

  • อัปเดต 5 อาการ “โอมิครอน” ที่ต่างจากโควิด-19 สายพันธุ์ทั่วไป
  • ทิ้งชุดตรวจโควิด-19 ATK อย่างไรให้ถูกต้อง ไม่ปนเปื้อน

วิธีที่ 1 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล (นอนเตียงโรงพยาบาล)

  1. ตรวจเพื่อยืนยันผลตรวจด้วยวิธี PCR อีกครั้ง

ติดต่อโรงพยาบาลใกล้บ้าน แจ้งว่าต้องสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 เพราะตรวจได้ผลบวกจากชุดตรวจ ATK ทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอาจขอเรียกตรวจด้วยวิธี PCR เพื่อยืนยันผลตรวจอีกครั้ง

  1. เข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลนั้นๆ

ในกรณีที่ทางโรงพยาบาลมีเตียง ห้องพัก หรือโรงพยาบาลสนามที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ สามารถเข้ารับการรักษาต่อกับทางโรงพยาบาลได้ทันที

วิธีที่ 2 รักษาที่โรงพยาบาล Hospitel

หากตัวเองเป็นผู้ป่วยที่ตรวจได้ผลบวกจากชุด ATK และไม่มีอาการหนัก รวมถึงไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (ผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว ฯลฯ) สามารถขอรับการรักษาด้วยวิธีการกักตัวใน Hospitel หรือที่โรงแรมหรือสถานที่ที่ทางโรงพยาบาลจัดเตรียมไว้ให้ได้

  1. ติดต่อที่โรงพยาบาลที่ให้บริการ Hospitel ที่เราสะดวกเข้าพัก 

หรือติดต่อ สปสช ที่เบอร์ 1330 เพื่อเช็กสิทธิก่อนว่าสามารถใช้สิทธิการรักษาพยาบาลที่ใดได้บ้าง ซึ่งหากเรายินดีรับการรักษาตามสิทธิที่ตนเองได้รับจากภาครัฐ ก็อาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติม หรือภาครัฐออกให้บางส่วนได้ แต่หากเรายืนยันขอรับบริการการรักษานอกสิทธิที่ตัวเองได้รับ เช่น ขอเข้ารับการรักษาใน Hospitel ของโรงพยาบาลเอกชน อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามแต่ละโรงพยาบาลให้บริการ

ตัวอย่างโรงพยาบาลที่ให้บริการ Hospitel

  • โรงพยาบาลกรุงเทพ(ศูนย์วิจัย)    โทร 02 310 3000
  • โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท  โทร 02 769 2000
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น  โทร 02 910 1600
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค  โทร  02 804 8959
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รามคำแหง  โทร 0 2339 0000
  • โรงพยาบาลไทยนครินทร์  โทร 02 340 6499
  • โรงพยาบาลธนบุรี  โทร 02 487 2000
  • โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง  โทร 0 2220 7999
  • โรงพยาบาลนวมินทร์ 9  โทร 0 2518 1818
  • โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล  โทร 02 109 9111

เป็นต้น

  1. เข้าพักในห้องที่ทางโรงแรมจัดเตรียมไว้ให้

เมื่อเข้าสู่กระบวนการเข้ารับการรักษาใน Hospitel หรือโรงแรมที่ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยกักตัวอยู่ในห้อง และมีเจ้าหน้าที่นำอาหารและยา และตรวจร่างกายระหว่างรักษาให้

  • เช็กลิสต์ สิ่งของจำเป็นเมื่อเข้าพักรักษาโควิด-19

วิธีที่ 3 กักตัวรักษาอยู่ที่บ้านตัวเอง (Home Isolation)

หากในกรณีที่ไม่สามารถหาเตียงในโรงพยาบาล หรือหาห้องจาก Hospitel เพื่อเข้ารับการรักษาได้ อีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นที่นิยมและสะดวก มีประสิทธิภาพในการรักษาได้ดีไม่แพ้กัน หรือการขอกักตัวรักษาเองอยู่ที่บ้าน หรือ Home Isolation

  1. ติดต่อ สปสช.

หากท่านเลือกที่จะรักษาตัวอยู่ที่บ้าน เพราะมีอาการไม่หนักมาก ได้รับวัคซีนมากกว่า 2 เข็มขึ้นไป ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (ผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว ฯลฯ) และสามารถกักตัวอยู่บ้านหรืออยู่ในห้องคนเดียวได้ สามารถโทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 14

หรือ ลงทะเบียนด้วยตนเองที่ https://crmsup.nhso.go.th/#TicketHI

หรือ ไลน์ สปสช. โดยเพิ่มเพื่อน พิมพ์ @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6

  • เลือกเมนูบริการเกี่ยวกับโควิด-19
  • เลือกลงทะเบียนเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้าน (Home Isolation)
  1. รับยา สิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

เมื่อเข้าสู่ระบบ Home Isolation แล้ว ผู้ป่วยจะได้รับยา และสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ขณะพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน อาจจะมีปรอทวัดไข้ ที่วัดออกซิเจน ชุดตรวจโควิด-19 แบบ ATK และยาที่จำเป็นต่อการรักษาอาการต่างๆ รวมถึงอาหารที่จะมีเจ้าหน้าที่จัดหามาให้ถึงบ้านด้วยเช่นกัน (ไม่ต้องมีผลตรวจ PCR)

ระยะเวลาในการกักตัวอยู่ที่ 10-14 วัน แต่บางรายเจ้าหน้าที่อาจพิจารณาให้กักตัวเพิ่ม โดยอาจจะเพิ่มอีก 14 วัน เป็น 28 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกับอาการของผู้ป่วย และการพิจารณาของเจ้าหน้าที่

ทั้งนี้ วิธีในการรักษา จะอยู่ที่การพิจารณาของเจ้าหน้าที่ หากเป็นผู้ที่มีอาการหนัก อาจมีความจำเป็นต้องรักษาที่โรงพยาบาลเท่านั้น สำหรับผู้ป่วยที่รักษาตัวที่ Hospitel หรือ Home Isolation กักตัวอยู่บ้านเอง จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนมักอยู่ในกลุ่มนี้ เพราะเป็นผู้ที่รับวัคซีนมากกว่า 2 เข็มขึ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงทำให้ไม่มีอาการหนักมาก

  • Home Isolation กักตัวที่บ้านอย่างไร เมื่อต้องเผชิญกับ “โควิด-19”

หากไม่สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ หรือระหว่างรอการติดต่อกลับมาจากเจ้าหน้าที่ที่อาจใช้เวลา 1-5 วันในการติดต่อกลับ ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองไปพลางๆ ด้วยการกินยารักษาตามอาการ เช่น พาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ ยาแก้ไอ แก้เจ็บคอ เป็นต้น และแยกตัวเองออกจากคนในบ้าน อยู่ในห้องคนเดียว ใช้ห้องน้ำแยกคนเดียวหรือใช้คนสุดท้าย ให้คนในบ้านเตรียมอาหารวางไว้ให้หน้าห้อง หรือหากอยู่คนเดียวในห้องหรือคอนโด สามารถทำอาหารกินเองแบบง่ายๆ หรือสั่งอาหารมาส่งให้ที่หน้าบ้านโดยให้ผู้ส่งวางหรือแขวนอาหารเอาไว้ที่นอกบ้าน เป็นต้น

mm88