สัญญาณเตือน Stroke โรคหลอดเลือดสมอง ตีบ แตก ตัน

0
122
สมัคร mm88

Stroke หรือ โรคหลอดเลือดสมอง ตีบ แตก ตัน ถือเป็นโรคร้ายในลำดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตประชากรไทย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนถึงปัจจุบัน Stroke เกิดจากการที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากเกิดการอุดตัน หรือ แตกของเส้นเลือดที่เป็นทางเดินของเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่างๆ ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แต่ เป็นคนวัยทำงาน หรือวัยรุ่นก็อาจมีความเสี่ยงเกิด strokeได้ด้วยสาเหตุที่ต่างกัน โดยเฉพาะในช่วงอายุ 18-50 ปี

สัญญาณเตือน Stroke โรคหลอดเลือดสมอง ตีบ แตก ตัน

การสังเกตอาการ “BEFAST” ของตนเองหรือคนใกล้ชิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ

B คือ Balance เดินเซ เวียนศีรษะ บ้านหมุน ฉับพลัน

E คือ Eyes ตามัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อนฉับพลัน

F คือ Face Dropping ยิ้มแล้วมุมปากตก

A คือ Arm Weakness ยกมือแล้วกำไม่ได้ หรือแขนขาไม่มีแรง

S คือ Speech Difficulty พูดไม่ชัด พูดไม่ออก

T คือ Time to call ควรรีบโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่และนำส่งโรงพยาบาล

ปัจจัยเสี่ยง Stroke โรคหลอดเลือดสมอง ตีบ แตก ตัน

  • ความดันโลหิต ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140-80 มิลลิเมตรปรอท (ค่าปกติ 140-80 มิลลิเมตรปรอท) จะทำให้สมองทำงานผิดปกติ หรือเกิดการแตกหรือตีบของหลอดเลือดสมอง
  • โรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดตีบแข็ง ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน เกิดเป็นอัมพาต (หากตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้ามากกว่า 110 มิลลิกรัม/เดซิลิตร มากกว่า 2 ครั้ง อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน)
  • ไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เป็นอัมพาตในเวลาต่อมา
  • สูบบุหรี่ ยิ่งสูบมากยิ่งเสี่ยงมาก เนื่องจากสารในบุหรี่หลายตัวเป็นตัวเร่งให้เกิดการระคายเคืองของผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตันขึ้นได้
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • โรคอ้วน
  • ความเครียด

ตรวจวินิจฉัย Stroke โรคหลอดเลือดสมอง ตีบ แตก ตัน

การตรวจวินิจฉัยเพื่อให้ทราบโอกาสเสี่ยงต่อโรคสมองขาดเลือด สามารถทำได้หลายวิธี นอกจากการตรวจเม็ดเลือดแดง เพื่อดูความเข้มข้นของเลือด การตรวจการอักเสบของหลอดเลือด การตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดแล้ว อาจทำการตรวจเอกซเรย์สมองเพิ่มเติม ในรายที่ผลการตรวจเลือดมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองขาดเลือด ได้แก่

  • การตรวจสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (CT) เป็นการตรวจดูความผิดปกติของหลอดเลือดสมองว่ามีการแตกหรือตีบตันของหลอดเลือดในสมองหรือไม่
  • การตรวจสมองด้วยสนามแม่เหล็ก (MRI) เป็นการถ่ายภาพเอกซเรย์สมองด้วยสนามแม่เหล็กที่สามารถให้รายละเอียดของสมองได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยสามารถตรวจพบการตีบตันของหลอดเลือดสมองได้ตั้งแต่ในระยะแรก และยังสามารถตรวจความผิดปกติของสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง เป็นต้น
  • การทำอัลตราซาวนด์หลอดเลือดคอ (Carotid Duplex Ultrasound) เพื่อตรวจภาวะความอุดตันของหลอดเลือดบริเวณคอ การไหลเวียนของเลือดที่หลอดเลือดคอ ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่สำคัญที่ไปเลี้ยงสมอง โดยใช้คลื่นความถี่สูง เพื่อตรวจหาขนาดและความหนาของผนังหลอดเลือด รวมทั้งการหมุนเวียนของหลอดเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมอง

Magic Number กับการรักษา Stroke โรคหลอดเลือดสมอง ตีบ แตก ตัน

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ Magic Number 4.5 หมายถึง ถ้ามาถึงโรงพยาบาลภายในช่วงเวลา 4.5 ชม. นับตั้งแต่สังเกตเห็นอาการ แพทย์จะสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือ rtPA ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งในคนไข้รายที่มีภาวะสมองขาดเลือดและไม่พบภาวะเลือดออกในสมอง จะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ทัน แต่สำหรับรายที่หากมาช้าเกิน 4.5 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ และวินิจฉัยว่าเซลล์สมองยังไม่ตายจากการอุดตันของลิ่มเลือดขนาดใหญ่ การให้ยา rtPA อาจไม่ทำให้อาการดีขึ้น ต้องอาศัยการรักษาโดยใส่สายสวนหลอดเลือดสมองเข้าช่วย โดยแพทย์จะพิจารณาว่าจะใช้วิธีการดูด หรือนำลวด หรือตะแกรงเข้าไปเกี่ยวลิ่มเลือดที่อุดตัน ฉะนั้นจึงมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้

หากผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดต้องทำด้วยความระมัดระวังโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ เพื่อวางแผนการรักษาให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้ป่วยมากที่สุด นอกจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด (fibrinolytic agents or rt-PA) การทำหัตถการใส่สายสวนเพื่อเปิดหลอดเลือดสมอง (endovascular thrombectomy) ยังมีการใช้เทคโนโลยีเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อสแกนเนื้อสมอง จะสามารถเห็นความเสียหายได้ชัดเจน ซึ่งจะทำให้ได้ข้อสรุปการรักษาที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ แพทย์จะใช้เครื่อง BiPlane DSA (ไบเพลน ดีเอสเอ) เครื่องตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือด ช่วยในการดึงลิ่มเลือดอุดตัน แบบ Minimally Invasive Procedure โดยการใส่สายสวนเพื่อไปเปิดหลอดเลือดสมอง (ไม่ต้องเปิดกะโหลกศีรษะ) แต่จะมีแผลเล็กที่ขาหนีบตรงบริเวณที่ใส่สายสวน และเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้ป่วยแต่ละราย

mm88