เข้าใจใหม่ “ปลูกฝี” ไม่ใช่วัคซีนป้องกัน “ฝีดาษ”

0
166
สมัคร mm88

คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดเรื่องการปลูกฝีว่ายังมีอยู่ แต่จริงๆ แล้วในไทยเลิกปลูกฝีตั้งแต่ปี 2517

“ปลูกฝี” เป็นหนึ่งในการฉีดวัคซีนที่คนไทยส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่า หมายถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค “ฝีดาษ” หรือ “ไข้ทรพิษ” แต่อันที่จริงแล้วไม่ใช่

การปลูกฝีในอดีต

ประเทศไทยเริ่มให้บริการปลูกฝีกับคนไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2378 โดยหมอบลัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) โดยเป็นครั้งแรกที่คนไทยได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีกด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2456 เมื่อรัฐบาลไทยออกกฎหมายบังคับให้ประชาชนทุกคนปลูกฝีป้องกันโรคไข้ทรพิษ และค่อยๆ ได้รับการสนับสนุนจากภาพรัฐเรื่อยมาจนสามารถให้คนไทยทุกคนได้รับการปลูกฝี รวมถึงวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ ตามมา เช่น เซรุ่มแก้พิษงู เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เป็นต้น

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ประเทศไทยแต่เดิมปลูกฝีให้กับทุกคน โดยเฉพาะตั้งแต่แรกเกิด และโรคนี้สามารถควบคุมได้ และหมดไป จึงเลิกการปลูกฝีในประเทศไทย ประมาณปี 2517 เป็นต้นมา และองค์การอนามัยโลกประกาศว่าฝีดาษหมดไปในปี 2523 และทั่วโลกยกเลิกปลูกฝีตั้งแต่นั้นมา ทำให้ประชากรไทยที่เกิดหลังปี 2517 เกือบทุกคนจะไม่ได้รับการปลูกฝีแล้ว

การปลูกฝีในปัจจุบัน

คำว่า “ปลูกฝี” ในปัจจุบัน ถูกใช้ในแง่ของการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค หรือวัคซีน BCG โดยที่นิยมเรียกกันว่าเป็นการปลูกฝี เพราะหลังจากที่เด็กแรกเกิดหรือเด็กเล็กได้รับวัคซีน จะมีแผลที่ต้นแขนซ้าย  ผ่านไป 4-6 สัปดาห์จะมีตุ่มหนองขึ้น ตุ่มจะสุกและแตก จนแผลจะค่อยๆ แห้งและหายได้เอง ในบางรายอาจเป็นๆ หายๆ แต่สุดท้ายแล้วแผลจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายได้เอง ไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อร่างกายในภายหลัง

ด้วยลักษณะของแผลหลังฉีดวัคซีนที่คล้ายเป็นฝี หลายคนจึงเรียกว่าเป็นการปลูกฝีนั่นเอง แต่ไม่ใช่การปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษเหมือนสมัยก่อน

แผลเป็นของวัคซีนป้องกันวัณโรคจะมีลักษณะนูนกว่าแผลเป็นจากวัคซีนป้องกันฝีดาษ

 ซ้าย - แผลเป็นจากการฉีดวัคซีนวัณโรค / ขวา - แผลเป็นจากการฉีดวัคซีนฝีดาษซ้าย – แผลเป็นจากการฉีดวัคซีนวัณโรค / ขวา – แผลเป็นจากการฉีดวัคซีนฝีดาษ

  • วัคซีน “วัณโรค” เราฉีดกันหรือยัง? จำเป็นต้องฉีดไหม?

เรื่องควรรู้ของวัคซีนป้องกันวัณโรค

  1. วัคซีน BCG หรือวัคซีนป้องกันโรควัณโรค เป็นหนึ่งในวัคซีนพื้นฐานที่ทารกแรกเกิดทุกคนต้องได้รับ ส่วนใหญ่จะเลือกฉีดที่แขนซ้าย สามารถที่สะโพกได้แต่อาจไม่แนะนำ เพราะอาจติดเชื้อได้ง่าย หรือทารกอาจเจ็บแสบแผลจากการเสียดสีระหว่างเปลี่ยนผ้าอ้อม
  2. แผลที่เกิดจากการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค อาจเป็นรอยแผลเป็นที่เห็นได้ชัดเจนไปตลอดชีวิต บางรายแผลค่อยๆ มีขนาดเล็กลง หรือจางลงในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี หรือในบางรายอาจมีแผลเล็กมากจนมองไม่เห็นเมื่อโตขึ้นได้
  3. วัคซีนป้องกันวัณโรค สามารถป้องกันวัณโรคให้กับเด็กได้ยาวนานถึง 10 ปี หลังจากนั้นจะค่อยๆ ภูมิคุ้มกันลดลง วัคซีนสามารถป้องกันโรคได้ทันทีราว 80% โดยเฉพาะวัณโรคเยื่อหุ้มสมองในเด็ก ดังนั้นเด็กจะยังคงมีความเสี่ยงต่อโรควัณโรคอยู่ แต่เสี่ยงน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน และเมื่อโตขึ้นก็สามารถมีความเสี่ยงต่อวัณโรคได้เหมือนเดิมเช่นกัน

ข้อควรระวังในการดูแลแผลจากการปลูกฝีจากวัคซีนป้องกันวัณโรค

  1. ห้ามบ่งหนอง 
  2. ห้ามใส่ยา หรือโรยยาใดๆ ลงในแผล 
  3. รักษาความสะอาด โดยใช้สำลีที่สะอาด ชุบน้ำต้มสุกเช็ดรอบๆแผล (ห้ามเช็ดแผล) ตุ่มหนองจะแตกเอง 
  4. ตุ่มหนองอาจจะเป็นๆ หายๆ อยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ และจะแห้งกลายเป็นแผลเป็นไปเอง
  5. ถ้าสังเกตว่าแผลนั้นเป็นหนองมากหรือ ต่อมน้ำเหลืองข้างหูโตต้องรีบพาบุตรพบแพทย์โดยเร็ว
mm88