4 วิธีกำจัด “เหา” ที่ถูกต้อง และได้ผล

0
122
สมัคร mm88

การติด “เหา” สามารถติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งได้ง่าย หากอยู่ใกล้กัน ใช้ของร่วมกัน โดยเฉพาะของใช้ส่วนตัว หรือการใกล้ชิดกับศีรษะ และเส้นผม

 

“เหา” ติดต่อกันได้อย่างไร?

นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า เหาเป็นโรคติดต่อที่พบได้ทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยในเด็กหญิงวัยเรียน อายุระหว่าง 3-12 ปี ทั่วโลก โดยเฉพาะในโรงเรียนสถานสงเคราะห์ ซึ่งเด็กๆ เล่น สัมผัสใกล้ชิดกันทำให้เหาติดต่อกันทางเส้นผม การสัมผัสใกล้ชิดโดยตรง หรือผ่านการใช้หวี ไดร์เป่าผม หมวก หรือหมอนร่วมกัน การตรวจพบไข่เหาที่เส้นผมบริเวณท้ายทอยและหลังหู ร่วมกับอาการคันศีรษะ

ผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการคันศีรษะส่วนใหญ่พบเป็นรอยแดง สะเก็ด หรือรอยแกะเกาที่ไม่จำเพาะ บางรายอาจตรวจพบเป็นผื่นตุ่มแดงขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร มีไข้ต่ำๆ หรือต่อมน้ำเหลืองที่คอโตส่วน

 

อันตรายจากการติดเหา

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้จากการติดเชื้อเหา ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ตุ่มหนองที่บริเวณศีรษะ

 

วิธีรักษาอาการติดเหา

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การตรวจรักษาถ้าพบไข่หรือตัวเหาที่บริเวณเส้นผม อาจมองเห็นด้วยตาเปล่าหรือใช้กล้องจุลทรรศน์ โดยไข่ใหม่ที่ยังไม่ฟักเป็นตัวจะมีสีน้ำตาล แต่ถ้าฟักเป็นตัวแล้วไข่จะมีสีขาวใส ซึ่งการตรวจพบตัวเหาที่เส้นผมเป็นการยืนยันว่ายังมีการติดเชื้ออยู่

ดังนั้นแนวทางการดูแลรักษาโรคเหา มีดังนี้

  1. ใช้หวีเสนียดหวีเอาตัวเหา และไข่เหาออก
  2. โกนผมบริเวณดังกล่าวออก อาจพิจารณาใช้ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อรุนแรง และดื้อต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
  3. ทำความสะอาดเสื้อผ้า หมวก ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน และปลอกหมอน โดยซักด้วยน้ำร้อนและใช้ความร้อนทำให้แห้ง ส่วนหวีให้ล้างในน้ำร้อนอุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส หรือเคลือบด้วยยาฆ่าเหานาน 15 นาที
  4. ใช้ยาฆ่าเหาเป็นการรักษาหลัก ยาฆ่าเหาชนิดทาวิธีใช้คือทายาลงบนผมที่แห้ง 2 ครั้ง ในระยะเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์ ในส่วนยาฆ่าเหาชนิดกินให้ประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีแต่ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กน้ำหนักตัวน้อยกว่า 15 กิโลกรัม หญิงให้นมบุตรและหญิงตั้งครรภ์

 

สำหรับการป้องกันการติดต่อไปสู่ผู้อื่น คือหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด ไม่ใช้สิ่งของต่างๆ ด้วยกัน เช่น หวี หมวก เสื้อผ้าหมอนที่นอน

mm88