"กรดไหลย้อน" รักษาอย่างไรให้หายขาด

0
162
สมัคร mm88

กรดไหลย้อน โรคที่ใครๆ ก็ไม่อยากเป็น เพราะสร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และยังพบได้มากในวัยรุ่น วัยทำงานอีกด้วย

  • กรดไหลย้อน มีอาการอย่างไร สาเหตุเกิดจากอะไร

กรดไหลย้อน คืออะไร?

นพ. อนุพงศ์ ตั้งอรุณสันติ แพทย์ชำนาญการด้านโรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาล สมิติเวช สุขุมวิท ระบุว่า กรดไหลย้อนเป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก เรอเปรี้ยวบ่อย ๆ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

สาเหตุและปัจจัยกระตุ้นของโรคกรดไหลย้อน

อ. พญ.นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุสาเหตุและปัจจัยกระตุ้นของโรคกรดไหลย้อน เอาไว้ดังนี้

  • ความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหาร
  • แอลกอฮอล์ บุหรี่
  • ความเครียด
  • กินแล้วนอนเลย ภายใน 3 ชม.
  • น้ำหนักเกิน
  • อาหาร เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม อาหารรสจัด

อันตรายของโรคกรดไหลย้อน

นพ.นันทพล พงศ์รัตนามาน อาจารย์ที่ปรึกษา แผนกศัลยศาสตร์หลอดเลือด ร.พ.พระมงกุฎเกล้า หรือ หมอท็อป ระบุว่า อาการของโรคกรดไหลย้อน อาจส่งผลกระทบไปถึงสภาพและการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายได้ เช่น หลอดอาหารอักเสบ เป็นแผล ตีบตัน อาจทำให้เสียงเปลี่ยน เกิดภาวะหายใจลำบาก เสี่ยงฟันผุ หรืออาจจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งหลอดอาหารได้

  • 7 อันตรายจากโรค “กรดไหลย้อน”

รักษากรดไหลย้อนอย่างไรให้หายขาด

อ. นพ.อัครวิทย์ พูลสมบัติ สาขาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำวิธีที่ควรทำ หากอยากหายจากโรคกรดไหลย้อน ดังนี้

  1. กินอาหารให้ตรงเวลา
  2. ลดการรับประทานอาหารมื้อดึก และหลีกเลี่ยงการกินแล้วนอนทันที 
  3. หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นสาเหตุที่ทำให้อาการกำเริบ เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม อาหารรสจัด อาหารไขมันสูง
  4. กินอาหารให้ช้าลง เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน
  5. ทำกิจกรรมลดความเครียด เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูหนังที่ชอบ นั่งสมาธิ พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น
  6. รักษาด้วยยาลดกรด
  7. ผ่าตัดเสริมความแข็งแรงให้หลอดอาหาร ในกรณีที่แพทย์พิจารณาว่าสมควร 

อย่างไรก็ตาม สำหรับโรคกรดไหลย้อนนี้ สามารถเป็นแล้วหายได้ก็จริง แต่สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปรับพฤติกรรม ดังนั้นควรเน้นที่การปรับพฤติกรรมเป็นหลัก ตามด้วยการเข้ารับการรักษาจากแพทย์ และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งขรัด เท่านี้อาการกรดไหลย้อนก็ไม่ได้น่ากลัวอีกต่อไป

mm88