สัญญาณอันตรายโรค "ปลอกประสาทอักเสบ" (เอ็มเอส) วัยทำงานมีความเสี่ยง

0
148

สมัคร mm88

สัญญาณอันตรายโรค "ปลอกประสาทอักเสบ" (เอ็มเอส) วัยทำงานมีความเสี่ยง

โรคปลอกประสาทอักเสบ (เอ็มเอส) วัย 20-40 ปีมีความเสี่ยง ผู้ป่วยมักสูญเสียความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันและทำงาน แนะรีบรักษาหากเริ่มมีอาการ

โรคปลอกประสาทอักเสบ (เอ็มเอส) คืออะไร?

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า โรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis) หรือโรคเอ็มเอส : MS เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาททั้งส่วนกลางและส่วนปลาย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดโรค แต่เชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันระบบประสาท ทำให้เกิดการทำลายปลอกหุ้มประสาทในระบบประสาทส่วนกลางหรือปลอกหุ้มเส้นประสาทในส่วนปลาย 

กลุ่มเสี่ยงโรคปลอกประสาทอักเสบ (เอ็มเอส) 

โรคปลอกประสาทอักเสบ (เอ็มเอส) พบมากในผู้ป่วยอายุน้อย วัยหนุ่มสาว หรือวัยทำงาน คือ ช่วงอายุระหว่าง 20-40 ปี และพบว่า ผู้หญิงเป็นโรคเอ็มเอสมากกว่า ผู้ชาย พบในคนเอเชียน้อยกว่าชาติตะวันตก

อาการของโรคปลอกประสาทอักเสบ (เอ็มเอส)

เนื่องจากเป็นโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติได้รุนแรงและเรื้อรัง ผู้ป่วยมักสูญเสียความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันและทำงาน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม

นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวถึงผู้ป่วยโรคเอ็มเอสว่า จะมีอาการหลากหลาย ขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดโรค เช่น 

  • หากเกิดที่เส้นประสาทตา จะส่งผลต่อการมองเห็น อาจสูญเสียการมองเห็นของตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง เนื่องจากการอักเสบของเส้นประสาทตาผู้ป่วยจะมีอาการปวดตา ร่วมกับการมองเห็นที่ผิดปกติ 
  • หากเกิดที่ไขสันหลังหรือสมอง ผู้ป่วยจะอาจจะมีอาการอ่อนแรง รับความรู้สึกผิดปกติ ทรงตัวลำบาก หรือสูญเสียความสามารถในการทรงตัว 
  • พูดหรือกลืนลำบาก 
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระผิดปกติ 

อาการขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติว่าทำหน้าที่ใด

อันตรายของโรคปลอกประสาทอักเสบ (เอ็มเอส)

ถ้าพบว่ามีอาการดังกล่าว ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์เพื่อได้รับตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาเพื่อลดระยะเวลาในการฟื้นตัว และลดความถี่ในการกลับเป็นซ้ำ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ มีเพียงยาที่ช่วยชะลอการเกิดการอักเสบซ้ำ หรือกลุ่มยากดภูมิคุ้มกันบางชนิด และให้การรักษาตามอาการร่วมกับการฟื้นฟูความผิดปกติด้วยการทำกายภาพบำบัด

วิธีการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

เพื่อเป็นการป้องกันการกลับเป็นซ้ำและลดความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยโรคเอ็มเอส จึงควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจจะกระตุ้นให้กลับเป็นซ้ำหรือทำให้อาการรุนแรง โดยการดูแลใส่ใจสุขภาพตนเอง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการออกกำลังกายกลางแจ้งเพื่อรับวิตามินดีเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียด ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคเอ็มเอส โรคความผิดปกติทางระบบประสาท และโรคอื่นๆ ได้

mm88