เผยคนไทย ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงติด “ไวรัสโคโรน่า”

0
346
บันทึกฉบับร่างอัตโนมัติ
เผยคนไทย ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงติด ไวรัสโคโรน่า

กระทรวงสาธารณสุขย้ำคนไทยกลุ่มเสี่ยงสูงติดไวรัสโคโรน่า ยังเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดชาวจีนที่ป่วยเท่านั้น คนสัมผัสผิวเผิน โอกาสติดเชื้อแทบไม่มี แนะวิธีลดความเสี่ยง เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 1 ก.พ.2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า

สถานการณ์ในประเทศไทย ณ ตอนนี้ คนไทยที่มีความเสี่ยงสูงยังเป็นเพียงกลุ่มผู้ที่มีอาชีพสัมผัสใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวจีนเท่านั้น เพราะฉะนั้น ใครที่รู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป จะต้องรู้วิธีการป้องกันตนเอง เช่น คนขับรถแท็กซี่ จะต้องใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และทำความสะอาดรถบ่อยๆ หากมีการรับคนจีนที่มีไข้ ไอ เพื่อป้องกันตัวเองและผู้โดยสารทรายต่อไป ส่วนคนไทยอื่นๆสัมผัสผู้ป่วยน้อยมาก บางพื้นที่ไม่มีคนจีนไปท่องเที่ยวเลย ก็ใช้ชีวิตปกติ และพิจารณาการป้องกันตามความเสี่ยงของตัวเอง การป้องกัน คือ ใส่หน้ากาก และล้างมือบ่อยๆ แต่คนไทยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงสัมผัสใกล้ชิดนักท่องเที่ยวจีน หากมีอาการไข้ ไอ และหายใจเร็ว ให้รีบโทรปรึกษาสายด่วนกรมควบุคมโรค 1422 หรือเข้ารับการรักษาในรพ.และแจ้งประวัติการสัมผัสกับนักท่องเที่ยวจีนให้เจ้าหน้าที่ด้วย

นายแพทย์ธนรักษ์ กล่าวด้วยว่า ความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคคลจะขึ้นอยู่กับ 2 ส่วนสำคัญ คือ 1.โอกาสที่จะไปสัมผัสเชื้อมีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการสัมผัสเชื้อนั้น โดยทั่วไปเชื้อจะอยู่ในคน เพราะฉะนั้น วันนี้เมื่อออกจากบ้านโอกาสที่จะไปเจอคนที่ป่วยด้วยโรคนี้มีมากน้อยแค่ไหน ใน 100 คนที่เราเดินผ่านเป็นผู้ป่วยกี่คน ปัจจุบันในประเทศไทยมีคนที่ป่วยจริงๆน้อยมาก จะเป็นในกลุ่มผู้เดินทางชาวจีนที่ป่วยมาตั้งแต่ประเทศต้นทาง ดังนั้น ถ้าเราไม่ได้สัมผัสผู้ป่วยโอกาสที่จะติดเชื้อต้องบอกว่าเป็นศูนย์ เพราะโอกาสที่จะติดเชื้อต้องติดจากผู้ป่วยที่มีโรคนี้ และ2.จะสามารถลดความเสี่ยงได้อย่างไร

ทั้งนี้ การสัมผัสผู้ป่วย มีได้ 2 แบบที่จะทำให้ติดเชื้อ ได้แก่ 1.เป็นการหายใจเอาละอองเชื้อเข้าไป โดยเชื้อนี้เป็นไวรัส วิธีการแพร่โรคก็คือคนไข้ ไอหรือพูดแล้วน้ำลายกระเด็นออกมาก แล้วอีกคนหายใจเอาละอองน้ำลายนี้เข้าไป และ2.คนไข้อาจจะไอ แล้วเอามือมาปิดปาก จากนั้นเอาเมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลายไปเช็ดที่ต่างๆเชื้อก็จะติดอยู่บยู่ตามพื้นผิวต่างๆ แล้วอีกคนเอามือไปโดนพื้นผิวที่มีเชื้อและเอามือมีสัมผัสตา ปาก จมูก ซึ่งการลดความเสี่ยง คือการลดโอกาสที่เชื้อจะเข้าผ่านทางเดินหายใจ กับลดที่จะเอามือไปมือไป ขยี้ ตา จมูก ปาก

นพ.ธนรักษ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยนั้น ตราบใดที่ยังมีผู้เดินทางจากประเทศจีนเข้ามาในประเทศไทย คนไทยก็ยังมีโอกาสเสี่ยง และโอกาสเสี่ยงของคนไทยแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป ถ้าใครทำงานที่สัมผัสใกล้ชิดกับคนจีนก็จะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่แทบไม่เจอหน้าใครเลยในแต่ละวัน ถ้าเราไม่ได้ออกจากบ้านเลยความเสี่ยงเป็นศูนย์ เพราะฉะนั้นแต่ละคนก็จัดการตามระดับความเสี่ยงที่ตัวเองมีอยู่ ทั้งนี้ คนไทยที่เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง ซึ่งจะดูจากการการอยู่ด้วยกันในสถานที่ปิดเป็นเวลานานพอสมควร เช่น ในรถแท็กซี่

ขณะที่ผู้สัมผัสแบบผิวเผิน ด้วยการเดินสวยกัน ไม่ได้มองหน้ากัน เช่น อยู่ในห้างสรรพสินค้า เหล่านี้ความเสี่ยงใกล้ศูนย์ อาจจะไม่ศูนย์จริงแต่ก็ต่ำมากๆ ซึ่งการสัมผัสแบบผิวเผินเช่นนี้โอกาสที่จะติดเชื้อแทบไม่มีเลย แต่ทางการแพทย์จะไม่พูดอยู่แล้วว่ามันเป็นศูนย์ แต่ถ้าเป็นการสัมผัสที่ใกล้ชิดกันมากขึ้น เช่น ยืนคุยกันหันหน้ามองกันในระยะเวลานึง จะถือว่าเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดและกรณี

นายแพทย์ธนรักษ์ กล่าวอีกว่า ไวรัสโคโรน่า2019 เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ผ่านมาไม่ได้ก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงเป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการระบบทางเดินหายใจส่วนบน ไข้ ไอ เจ็บคอ เป็นไม่กี่วันก็หาย แต่ในระยะเวลาต่อมาเจอเชื้อไวรัสโคโรน่าที่ก่อให้มีอาการรุนแรง คือเชื้อซาร์ส ระบาดปี 2546 ในระยะเวลาระบาด 2 ปี มีผู้ป่วยทั่วโลกประมาณ 8,000 คน เสียชีวิตประมาณ 10 % และเมอร์ส ตั้งแต่ปี 2555 มีผู้ป่วยประมาณ 2,000 คน อัตราป่วยตายอยู่ที่ 30 % และทุกวันนี้ยังมีผู้ป่วยเมอร์สเพิ่มขึ้น ขณะที่ซาร์สไม่เจอผู้ป่วยใหม่ ส่วนโคโรน่า 2019 รู้ว่าสามารถแพร่ระบาดได้เร็วกว่าเมอร์สและซาร์ส โดยตัวใหม่นี้เวลาเพียง 1 เดือนเฉพาะในประเทศจีน จำนวนผู้ป่วยแซงหน้าซาร์สแล้ว แต่ตัวเลขที่ยังไม่ทราบตอนนี้คือ ป่วยจริงกี่คนและตายกี่คน ตรงนี้คือความรุนแรง เพราะฉะนั้นเชื้อแต่ละตัวมี 2 ส่วนที่สนใจ คือ แพร่ได้เร็วหรือไม่ และเมื่อติดเชื้อแล้วโอกาสที่จะเสียชีวิตมากน้อยแค่ไหน ซึ่งอัตราป่วยตายของตัวใหม่นี้ยังไม่ทราบและเป็ฯตัวเลขที่อยากทราบมากๆ

ดูข่าวต้นฉบับ