“ไฟเซอร์” กับเด็กอายุ 5-11 ปีและ 12-18 ปี ปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน

0
124
สมัคร mm88

เมื่อ FDA อเมริกาและ อย. ไทยเริ่มอนุมัติการฉีดวัคซีนให้เด็ก มีข้อควรระวังหรือไม่ ผู้ปกครองควรรู้ก่อนให้ลูกหลานฉีดวัคซีนโควิด-19

ข้อมูลจาก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า หลังจากได้ทบทวนข้อมูลใหม่ด้านระบาดวิทยา ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่น มีคําแนะนําใหม่เพิ่มจากคําแนะนําฉบับที่ 3 วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564 ดังนี้

  • เด็กและวัยรุ่น เพศชายอายุ 12-18 ปี ให้ฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 3-12 สัปดาห์ โดยแนะนําระยะห่าง 8-12 สัปดาห์ซึ่งจะดีกว่า 3-4 สัปดาห์ (การเพิ่มระยะห่างระหว่างเข็ม 1 และเข็ม 2 มีผลดี ทําให้ระดับภูมิคุ้มกันหลังเข็ม 2 สูงขึ้น ระยะเวลาป้องกันนานขึ้น และอาจลดความเสี่ยงในการ เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้)
    วัคซีนที่เหมาะสม คือ วัคซีนชนิด mRNA ได้แก่

– วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของ Pfizer-BioNTech (ฝาสีม่วง) ขนาด 30 ไมโครกรัม 0.3 มล. ฉีดเข้ากล้าม 2 โดส ห่างกันอย่างน้อย 3 สัปดาห์ 

– วัคซีนป้องกันป้องกันโรคโควิด-19 ของ Moderna ขนาด 100 ไมโครกรัม 0.5 มล. ฉีดเข้ากล้าม 2 โดส ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์

**แนะนําให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech เป็นลําดับแรก เนื่องจากข้อมูลการใช้วัคซีนชนิด mRNA ทั้งจากที่ ผลิตโดย Pfizer และ Moderna ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าการฉีดวัคซีนชนิด mRNA มี ความสัมพันธ์กับการเกิดกล้ามเนื้อและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบในอัตราที่น้อยมา

  • เด็กอายุ 5-11 ปี ให้ฉีดวัคซีนชนิด mRNA Pfizer BioNTech สูตรสําหรับเด็ก (ฝาสีส้ม) ขนาด 10 ไมโครกรัม ปริมาณ 0.2 มล. เข้ากล้าม 2 ครั้งห่างกัน 3-12 สัปดาห์ โดยระยะห่าง 8-12 สัปดาห์จะดีกว่า 3-4 สัปดาห์ เพราะได้ระดับภูมิคุ้มกันที่สูงกว่า

268783246_7098110756867480_77

270263343_7098111166867439_52

ประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ที่มีต่อเด็กอายุ 5-11 ปีและ 12-18 ปี

FDA อเมริกา ระบุว่า วัคซีนโควิด-19 สูตรสำหรับเด็ก สามารถป้องกันอาการป่วยโควิด-19 ได้ 90.7% รวมถึงลดการรักษาตัวในโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงป่วยหนัก ลดความเสี่ยงโรค MIS-C และยังลดความเสี่ยงในการเกิดอาการ Long Covid ที่เกิดขึ้นหลังหายจากโรคโควิด-19 ได้ด้วย

ความปลอดภัย และผลข้างเคียงที่อาจพบได้ของวัคซีนไฟเซอร์-โมเดอร์นา ที่มีต่อเด็กอายุ 5-11 ปี

การศึกษาประสิทธิผลของวัคซีน Pfizer-BioNTech ในเด็กอายุระหว่าง 5-11 ปี จํานวน 1,517 รายที่ได้รับวัคซีนดังกล่าวจํานวนสอง เข็มในระยะเวลาห่างกัน 21 วันเทียบกับกลุ่มที่ได้ placebo จํานวน 751 ราย พบว่ามีประสิทธิผลของวัคซีนในการ ป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีอาการและมีผลการตรวจยืนยันการติดเชื้อภายหลังฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มในระยะเวลาตั้งแต่ 7 วันเป็นต้นไป 90.7% (95% CI 67.7 ถึง 98.3) ระดับ geometric mean titer (GMT) ของ 50% ที่ระยะเวลาหนึ่งเดือนภายหลังการได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม

นอกจากนี้ยังพบว่าวัคซีนมีความปลอดภัย อาการข้างเคียงเฉพาะที่ของการฉีดวัคซีน Pfizer ในเด็กจากการศึกษาดังกล่าวมักมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง พบอาการ เจ็บบริเวณที่ฉีดวัคซีนบ่อยที่สุด (71-749%) สําหรับอาการทั้งระบบพบอาการอ่อนเพลีย (0.9%) และอาการปวดศีรษะ (0.3%) บ่อยที่สุด ทั้งนี้ยังไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรงจากการฉีดวัคซีนวัคซีนในการศึกษาดังกล่าว เป็นไปได้ว่าจํานวน ประชากรเด็กที่ได้รับวัคซีนจริงซึ่งมีจํานวนเพียง 1,517 ราย อาจมีจํานวนน้อยเกินกว่าที่จะสามารถตรวจจับ ผลข้างเคียงจากวัคซีนที่พบได้ไม่บ่อยและมีอุบัติการณ์การเกิดที่น้อยกว่า 1 ต่อ 1,517 รายได้ ดังนั้นจึงยังมีความจําเป็นต้องติดตามข้อมูลด้านความปลอดภัยและผลข้างเคียงของวัคซีนในประชากรกลุ่มเด็กจากการฉีดจริงในวงกว้างต่อไป

ทำไมเด็กควรได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19

แม้ว่าอัตราการเสียชีวิตผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในเด็กจะต่ำ แต่พบมีรายงานผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะการอักเสบของ อวัยวะหลายระบบในร่างกายที่สัมพันธ์กับการติดโรคโควิด-19 (Multisystem inflammatory syndrome in children, MIS-C) ในเด็กจํานวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรงแม้ว่าเป็นเด็กที่ปกติแข็งแรงดี และในขณะ นี้เด็กและผู้ปกครองจํานวนมากได้รับผลกระทบจากการที่เด็กไม่ได้ไปโรงเรียนเป็นระยะเวลานาน

คำแนะนำหลังฉีดวัคซีน mRNA สำหรับเด็ก

แนะนําให้เด็กงดออกกําลังกายอย่างหนักหรือการทํากิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ภายหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA เนื่องจากมีรายงานการเกิดผลข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ซึ่งถึงแม้จะพบในอัตราที่ต่ำ แต่เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน จึงแนะนําให้เด็กและวัยรุ่นทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและวัยรุ่นชายที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งเข็มที่ 1 และ 2 ให้งดการออกกําลังกายหรือการทํากิจกรรม อย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ภายหลังจากการฉีดวัคซีน 

และในเวลาดังกล่าวนี้หากมีอาการเจ็บแน่น หน้าอก หายใจเหนื่อยหรือหายใจไม่อิ่ม ใจสั่นหน้ามืดเป็นลม ควรรีบไปพบแพทย์ โดยหากแพทย์สงสัย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ควรพิจารณาทําการตรวจค้นเพิ่มเติม

หากมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นมากขึ้น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจะมีคําแนะนําเพิ่มเติมในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในอนาคตต่อไป สามารถติดตามคําแนะนําของราชวิทยาลัยได้ที่ www.thaipediatrics.org

mm88