8 อาการผิดปกติระหว่างนอน ที่ควรตรวจ Sleep Test

0
122
สมัคร mm88

สะดุ้งตื่นกลางดึก ตอนเช้าตื่นมาไม่สดใส รู้สึกอ่อนเพลียหลังตื่นนอน หรือนั่งทำงานแล้วแอบหลับบ่อยๆ อาการเหล่านี้อาจกำลังส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับความผิดปกติในการนอนหลับของคุณอยู่ การตรวจ Sleep Test จึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยดูแลประสิทธิภาพการนอน และนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีตามมา

Sleep Test คืออะไร?

นพ.ชยานุชิต ชยางศุ แพทย์เฉพาะทางด้านประสาทวิทยา ศูนย์โรคระบบสมอง โรงพยาบาลนวเวช ระบุว่า Sleep test คือ การตรวจหาความผิดปกติของการนอนหลับ เพื่อสังเกตการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับด้วยเครื่อง Sleep Test 

การตรวจนี้จะทำให้ทราบว่าตัวเรามีอาการความผิดปกติที่ซ่อนอยู่ในระหว่างการนอนหรือไม่ เช่น

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • นอนกัดฟัน
  • นอนละเมอ
  • ภาวะชักขณะหลับ
  • แขนขากระตุก

รวมถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ เพื่อวินิจฉัยวางแผนและติดตามการรักษาได้อย่างถูกต้อง

ใครที่ควรเข้ารับการตรวจ Sleep Test

ในเบื้องต้นให้ลองสังเกตตัวเราเอง หรือให้คนที่อยู่ข้างกายสังเกตดูว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ เช่น

  1. นอนกรนดังผิดปกติ
  2. มีการสะดุ้งตื่น หายใจเหนื่อยตอนกลางคืน
  3. นอนเยอะแต่ยังรู้สึกว่านอนไม่พอตลอดเวลา
  4. ตอนเช้าตื่นมาไม่สดชื่น
  5. รู้สึกอ่อนเพลียหลังตื่นนอนบ่อยๆ
  6. นั่งทำงานแล้วหลับบ่อยๆ
  7. คนที่เป็นโรคอ้วน หรือคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน
  8. คนที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน

อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ก็สามารถเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้เช่นกัน โดยภาวะหยุดหายใจขณะหลับสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ฉะนั้น ถ้าเป็นไปได้หมออยากให้ลองตรวจ Sleep Test สักครั้ง เพื่อดูประสิทธิภาพการนอนของเรา เพราะคุณภาพของการนอน เป็นตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพ

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ส่งผลกระทบอย่างไร?

ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ เกิดขึ้นตามมาหลังจากการที่คนไข้บางรายมีการกรนมาก พอมีการกรนมาก ร่างกายเราจะขาดออกซิเจนเป็นช่วงสั้นๆ ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในตัวเกิดการคั่ง สมองก็จะสั่งงานทำให้เราตื่น เพราะว่าสมองจะต้องพยายามป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดออกซิเจนนานเกินไป และไม่ให้มีคาร์บอนไดออกไซด์ในตัวคั่งมากเกินไป พอมีการกระตุ้นทำให้เราตื่น จะทำให้เกิดการนอนหลับลึกแล้วก็ตื่น สลับกันไปเรื่อยๆ บางคนเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ 1 นาที เกิน 100 ครั้ง ลองนึกภาพตามก็คือ แทนที่จะได้นอนแล้วหลับยาวตลอดคืน แต่กลับต้องนอนหลับสลับกับการตื่น สมมติได้นอน 10 ชั่วโมง เปรียบเทียบกันก็คือ สมองเราได้พักจริงๆ อาจจะแค่ครึ่งเดียว เพียง 5ชั่วโมง ซึ่งทำให้คุณภาพในการนอนแย่ลง

แนวทางการดูแลผู้ป่วย ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

  1. เข้ามาทำการตรวจ Sleep Test โดยคนไข้จะต้องมานอนที่โรงพยาบาลช่วงเวลากลางคืน 1 คืน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำการติดอุปกรณ์ เพื่อตรวจคุณภาพการนอนของเราว่าเป็นอย่างไร
  2. แพทย์จะทำการวินิจฉัย กรณีที่พบว่าคนไข้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็จะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก หรือที่เรียกว่า Continuous Positive Airway Pressure เพื่อช่วยเปิดช่องทางเดินหายใจในขณะหลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ใช้เครื่องสามารถหายใจรับอากาศได้อย่างพอเพียง และนอนหลับราบรื่นตลอดทั้งคืน
  3. เมื่อหลับสบายตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึกสดชื่น และช่วยลดอาการอ่อนเพลีย หรือความง่วง เพราะว่าการนอนไม่ใช่แค่การพักผ่อน แต่การนอนที่มีคุณภาพ ทำให้เรามีสุขภาพที่ดีตามมาด้วย

บางคนคิดว่าการนอนกรนเป็นเรื่องปกติที่เจอได้ในชีวิตประจำวัน และการนอนกรนแค่สร้างความรำคาญให้กับคนที่นอนด้วย หรือคนรอบข้าง แต่จริงๆ แล้วนอกเหนือจากเรื่องนอนกรน มันมีสิ่งที่ซ่อนอยู่คือ บางคนมีการหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของการนอน โดยทั่วไปแล้วเราจะไม่มีทางรู้เองได้เลย และในปัจจุบันก็ยังแนะนำว่า วิธีการตรวจที่ดีที่สุดคือ การทำ Sleep Test หากท่านใดที่มีอาการนอนกรน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อทำให้คุณภาพในการนอนของเราดีขึ้น

mm88