เยียวยาด้วยปัญญา : ยุคทองของเทนนิสอเมริกา ที่เริ่มจากรัฐบาลไม่อยากให้คนในชาติสิ้นหวัง

0
155
สมัคร mm88

ประเทศที่ดีต้องมีอะไร ? …  คำถามนี้เป็นคำถามที่เกิดขึ้นบ่อยเหลือเกิน และคำตอบมากมายแตกต่างกันไป แต่ที่แน่ ๆ มันมีคำตอบ 1 ข้อที่ทุกคนน่าจะคิดเหมือนกันนั่นคือ 

“ประเทศที่ดีจะไม่ทำให้ประชาชนสิ้นหวัง” … และนี่คือเรื่องราวเกี่ยวกับวงการเทนนิสในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ถือว่าเป็นชาติเบอร์ 1 ในกีฬาชนิดนี้ ในแง่ของความพร้อม การจัดการ และการพัฒนาเยาวชน 

เรื่องราวของความยอดเยี่ยมนี้เกิดขึ้นจากความเรียบง่ายคือ “พวกเราไม่ต้องการให้ประชาชนสิ้นหวัง” พวกเขาจึงคืนความมีชีวิตชีวาให้ทุกคน โดยมี “เทนนิส” เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญ 

ติดตามเรื่องราวทั้งหมดที่นี่

อย่าหมดหวัง …

เรื่องราวความยอดเยี่ยมของวงการเทนนิสในประเทศสหรัฐอเมริกาอาจจะไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้ หากพวกเขาไม่เคยเผชิญวิกฤติครั้งสำคัญมาก่อน ความยิ่งใหญ่ของแดนลุงแซม เริ่มต้นจากซากปรักหักพังของเศรษฐกิจที่ล่มสลายภายได้ชื่อวิกฤติ “The Great Depression”

 

ในปี 1929 หรือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกาเกิดฟองสบู่แตก ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED ไม่มีเงินมากพอในคลังที่จะพยุง พวกเขาตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่มากเกินความจริง ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมเริ่มถดถอย และหลังจากนั้นไม่นาน วิกฤติด้านอื่น ๆ ก็ตามมาอย่างไม่หยุดหย่อน

ราคาหุ้นแกว่งตัวขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างรุนแรง นักธุรกิจและธนาคารซึ่งไม่มั่นใจในตลาดหุ้นจึงพยายามเรียกคืนหนี้สินที่ปล่อยกู้ไป ทำให้ราคาหุ้นดิ่งลงเรื่อย ๆ จนตลาดหุ้นที่วอลสตรีท มหานครนิวยอร์ก ล้มลงเมื่อวันอังคารที่ 29 ตุลาคม 1929 (หรือทีเรียกกันว่า Black Tuesday) ความเสียหายทางการเงินครั้งนี้ไม่เพียงทำให้เกิดหนี้เสียจำนวนมากจนธนาคารหลายพันแห่งต้องล้มลง สร้างมูลค่าความเสียหายมากกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและขยายตัวไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว


Photo : The WallStreet Journal 

ทุกอย่างทยอยล้มตามกันเป็นโดมิโน่ เมื่อรัฐล้ม ประชาชนก็ย่อมล้มตาม ผู้คนเสียขวัญ ไม่กล้าออกมาใช้เงินเดินหน้าให้เศรษฐกิจเดินหน้า ไม่มีใครกล้าออกมาใช้ชีวิตในสาธารณะ สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของรัฐ และเป็นเครื่องมือที่ชี้วัดว่า พวกเขาใส่ใจประชาชนของตัวเองมากแค่ไหน 

รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาจึงเกิดไอเดียแก้ปัญหาดังกล่าว พวกเขาต้องการกระตุ้น ชักชวนให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิต เพื่อเป็นหนึ่งในแนวทางการฟื้นฟูสภาพจิตใจ ในขณะที่รัฐกำลังแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการกระตุ้นให้มีนักลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น เรียกง่าย ๆ ปัญหาทั้ง 2 อย่างถูกแก้ในเวลาเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องและส่งผลดีต่อประเทศมากที่สุด 

สำหรับนโยบายผลักดันกระตุ้นให้ประชาชนออกมาใช้ชีวิตให้มีชีวานั้น นำมาซึ่งการสร้างสนามกีฬาในพื้นที่สาธารณะเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนออกมาเล่น โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ทางรัฐเลือกลงทุนสร้างสนามเทนนิสเป็นเพราะมีขนาดที่ไม่ได้ใหญ่เท่าไหร่ ใช้พื้นที่ไม่ถึง 200 ตารางเมตร แถมไม่จำเป็นต้องออกค่าใช้จ่ายในเรื่องของอุปกรณ์มากเท่าไหร่ 

ดังนั้น เมื่อมีคอร์ทเพิ่มมากขึ้น ผู้คนจึงเลือกออกมาเล่นเทนนิสกัน และช่วยเพิ่มความนิยมให้กับกีฬาเทนนิสในประเทศสหรัฐอเมริกา และแน่นอนว่าเมื่อมีคนเล่นเยอะขึ้น ก็มีการจัดแข่งขันภายในประเทศมากขึ้น มีเงินรางวัลล่อตาล่อให้คนอยากเล่นเทนนิสให้เก่ง นั่นคือจุดเริ่มต้นที่บุคลากรในวงการเทนนิสของอเมริกาเติบโตขึ้นอย่างพรวด ๆ 


Photo : NPS 

แนวทางดังกล่าวนำไปสู่การยกระดับการแข่งขันทัวร์นาเมนต์เมเจอร์ในประเทศให้เป็นแบบ โอเพน หรือ ที่ทุกคนฟังคุ้นหูกันมาถึงทุกวันนี้ โดยเปิดโอกาสให้นักกีฬาอาชีพและสมัครเล่นจากทั่วโลกเข้ามาแข่งขันร่วมกันได้ในปี 1968 ทำให้การแข่งขันเริ่มเป็นระบบมากขึ้น มีทั้งประเภทเดี๋ยว รวมถึงประเภทคู่ด้วย ชิงเงินรางวัลรวม 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนี้ นโยบายการสร้างสนามเทนนิสยังไม่ใช่การพลิกวิกฤติอย่างฉาบฉวย แต่มันคือการแก้ไขที่ยั่งยืน เพราะจากการตัดสินใจของรัฐที่ให้สร้างสนามกีฬาในช่วงยุค 1930 ทำให้ในปี 2017 ได้มีการทำสถิติออกมาจาก Statista ว่าสหรัฐอเมริกามีจำนวนส่วนแบ่งของสนามเทนนิสเป็นอันดับหนึ่งของโลกอยู่ที่ 15.8% ทิ้งห่างประเทศอันดับสองกับสามอย่าง จีน กับ เยอรมัน ถึง 5% ทีเดียว 

หากการสร้างสนามเทนนิสคือการหว่านเมล็ดพันธุ์แล้วล่ะก็ คงไม่ดีแน่ที่จะจบทุกอย่างไว้แค่สนามที่รัฐบาลสร้างขึ้น ดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาของภาคเอกชนที่เข้ารับต้นกล้าเหล่านั้นมาดูแลต่อ กับการเพาะพันธุ์ให้เติบโตขึ้นมาเป็นไม้ใหญ่ที่สร้างประโยชน์ได้มากมาย 

โตขึ้นไปอย่างมีคุณภาพ 

ที่สหรัฐอเมริกานั้น การตีเทนนิสไม่ใช่แค่การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะพวกเขามีอคาเดมีที่สร้างขึ้นมาเพื่อยกระดับศักยภาพทั้งในและนอกสนามของนักกีฬาเทนนิสด้วยเช่นกัน

Investment Management Group หรือ IMG อคาเดมี ตั้งอยู่ในเมืองแบรนเดนตัน รัฐฟลอริดา มีความใหญ่อลังการกว่า 1,500 ไร่ พร้อมกับสนามเทนนิสมากถึง 40 คอร์ท โปรเจกต์ครั้งนี้มีกลุ่มนักลงทุนอย่าง IMG มาช่วยเป็นผู้สนับสนุนหลักในปี 2002 เพื่อเป้าหมายในการ “ช่วยนักกีฬาที่ทุ่มเทและกระตือรือร้น เพิ่มศักยภาพที่มีอยู่โดยกำเนิด” 


Photo : IMG Academy

 

นักกีฬาที่ได้ผ่านการคัดเลือกเข้ามามีตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ขึ้นไปถึง 20 ปี โดยเด็กเหล่านี้จะได้อยู่ภายใต้การดูแลของโค้ชระดับอดีตมือโปรที่ผ่านการแข่งขันรายการเมเจอร์ รวมถึงผู้ช่วยโค้ชอีกนับสิบคน ซึ่งปัจจุบันนักเทนนิสชื่อดังอย่าง อังเดร อากัสซี่ และ เซรีนา วิลเลียมส์ ก็ถือว่าได้มีบทบาทในการสอนเด็ก ๆ ในอคาเดมีแห่งนี้ 

นอกจากนี้ทาง IMG ได้เปิดโรงเรียนประจำสำหรับนักกีฬา พร้อมทำการสอนตั้งแต่ชั้น ป. 6 จน ม. 6 โดยมีหลักสูตรระบบการเรียน Advanced Placement (AP) ที่ใช่กันทั่วโลก รวมถึงจำกัดให้ครูหนึ่งคนดูแลนักกีฬาไม่เกิน 12 คน เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแลอย่างครอบครุมไม่หลุดจากสายตา 

หากว่ากันด้วยเรื่องผลงานในสนาม ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะผลผลิตนักกีฬาที่เล่นอยู่ในระดับท็อปของโลก อย่างเช่น มาร์ติน แดมม์ นักเทนนิสชายวัย 17 ปี ที่อยู่อันดับ 4 ของโลก กับ โรบิน มอนท์กัมเมอร์รี่ นักเทนนิสหญิงวัย 16 ปี มือวางอันดับ 6 ของโลก (ตามแรงกิ้ง ITF Junior) ทั้งคู่ปัจจุบันทำการฝึกฝนอยู่ที่ IMG อคาเดมี

มาร์ติน แดมม์ เปิดเผยว่า “การมาเล่นที่ IMG ช่วยพัฒนาตัวผมทั้งในและนอกสนาม ทุกอย่างที่มีความเป็นมืออาชีพสูง แล้วผมดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอคาเดมีนี้”

เมื่อมองไปที่ผลงานโดยรวมของนักเทนนิสชาวอเมริกัน ในท็อป 20 ของโลกรุ่น Junior ประเภทชาย-หญิง ถือว่าเป็นประเทศที่มีนักกีฬาเป็นจำนวนมากที่สุดอยู่ที่ 10 คนเลยทีเดียว

 

สิ่งสำคัญคือมันยังไม่จบแค่นั้น การพัฒนาที่แท้จริงคือไม่ว่าใครก็สมควรได้รับโอกาสหากเขาเก่งพอ เพราะเมื่อเด็ก ๆ ที่เล่นเทนนิสเข้าไปสู่ระบบมหาวิทยาลัยแล้ว ไม่ว่าพวกเขาจะมาจากโรงเรียนทั่วไปหรือมาจากอคาเดมีชั้นดี พวกเขาจะยังส่งเสริมผู้เล่นเหล่านั้นให้เป็นทั้ง “คนที่เล่นเทนนิสได้ดี” และ “มีวิชาความรู้” อีกด้วย


Photo : The WallStreet Journal 

ตัวอย่างที่ชัดเจน คือโมเดลของมหาวิทยาลัยอินเดียนา ที่มีทีมเทนนิสอยู่กลางตารางของดิวิชั่น 1 พวกเขาเริ่มคัดเลือกนักกีฬาเทนนิส ตั้งแต่การสเกาท์เด็ก ๆ จากทั่วประเทศในรุ่นมัธยมปลาย เจาะลึกไปที่เด็กแต่ละคนว่ามีจุดเด่นตรงไหน จุดอ่อนตรงไหน เสริมที่ใดจึงจะเป็นระดับมืออาชีพได้ 

หลังจากคัดตัวได้แล้ว นักเทนนิสแต่ละคนจะได้รับจำนวนดาวเพื่อเป็นแรงกิงแสดงความสามารถ จาก 1 ดาว (ต่ำสุด) จนถึง 5 ดาว (สูงที่สุด) เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าต้องการเลือกใครเข้าทีม จะมีการส่งจดหมายไปถึงนักกีฬาดังกล่าวเพื่อแสดงความสนใจและชักชวนให้มาเล่นที่มหาวิทยาลัย โดยในปี 2020 ที่ผ่านมา ทาง ม. อินเดียนา ได้นักกีฬาเข้ามาเพิ่มในทีม 4 คน เป็นผู้เล่น 4 ดาว 2 คน กับ 5 ดาว 2 คน รวมทั้งหมดแล้วทีมทีผู้เล่น 12 คน 

“การให้โอกาสนักกีฬาที่เพิ่งเข้ามาสู่ทีมเป็นสิ่งสำคัญมาก เทนนิสในระดับมหาวิทยาลัยมอบโอกาสในการลงเล่นให้พวกเขาเยอะ มีทั้งเกมกับทีมร่วมลีก รวมถึงทีมนอกลีก กับ ทัวร์นาเมนต์ช่วงซัมเมอร์” เจเรมี่ วอร์สแมน ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าโค้ชของทีมเทนนิสเป็นปีที่ 6 กล่าว

 

ความพิเศษของเทนนิสในระดับมหาวิทยาลัย คือเรื่องของโอกาสมากมายที่นักกีฬาจะได้รับ เพราะอย่างที่ได้บอกไปว่าในทีมมีแค่ผู้เล่น 12 คน การแข่งขันในแต่ละเกมจะไม่ได้เล่นกันแค่คนสองคน แต่ทว่าจะมีสิทธิ์ให้เกือบทั้งทีมได้ลงเล่นเลย เพราะในแมตช์การแข่งขันแต่ละครั้ง จะมีการแข่งแบบประเภทคู่ 3 คู่ ต่อด้วยในประเภทเดี่ยวอีก 6 คน เพราะฉะนั้นในทางทฤษฎีแล้ว ผู้เล่นทั้งทีม 12 คน มีสิทธิ์ที่จะได้ลงทุกคน อยู่ที่การจัดตัวของโค้ช   


Photo : IUS 

ส่วนเรื่องของชั่วโมงในการฝึกซ้อมในแต่ละอาทิตย์ โดยเฉลี่ยแล้วที่ ม. อินเดียนา ใช้เวลาในการซ้อมไม่เกิน 21 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ น้อยกว่ากีฬาอย่างอเมริกันฟุตบอลเท่าตัว เหตุนี้นำไปสู่การให้เวลากับนักกีฬาเข้าพบติวเตอร์กับครูสอนพิเศษมากขึ้น 

การมีเวลาโฟกัสเรื่องการเรียนมากขึ้น ย่อมหมายความว่านักกีฬาเหล่านี้สามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตนอยากศึกษาและเก็บวิชาอย่างแท้จริง เห็นได้จากการเลือกสาขาเรียนในทีมเทนนิสของ ม. อินเดียนา ว่าต่างคนต่างก็เลือกเมเจอร์ หรือวิชาเอกหลากหลายเช่น การเงิน บริหารธุรกิจ กฎหมาย รวมถึง ชีวเคมี 

เมื่อตั้งใจเรียน ผลการเรียนของนักกีฬาเทนนิสจึงมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากีฬาประเภทอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด ทีมเทนนิสของ ม. อินเดียนา มีคะแนน GPA ของทีมเฉลี่ยสูงถึง 3.827 

หากมองดูกันที่ภาพรวมของผลการเรียนของแต่ละประเภทกีฬาในระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา นักเทนนิสทั้งชายและหญิงทำคะแนนได้อยู่สูงถึงอันดับ 3 กับ 4 ส่วนนักอเมริกันฟุตบอลกับบาสเกตบอลที่เป็นกีฬายอดฮิตของชาติกลับทำสกอร์อยู่ตำแหน่งท้ายสุด


Photo : IUS 

เพราะฉะนั้นนอกจากนักเทนนิสจะได้รับโอกาสลงเล่นอย่างสม่ำเสมอเพื่อพัฒนาฟอร์มในสนามแล้ว การได้เวลาพักผ่อนเพียงพอ รวมถึงการมีเวลาเพิ่มในแต่ละวัน นำไปสู่ผลการเรียนที่มีคุณภาพมากกว่า และทำให้พวกเขาสามารถมีวิชาติดตัว สามารถประกอบอาชีพอื่น หากว่าวันหนึ่ง เทนนิส ไม่ตอบโจทย์กับชีวิตของพวกเขา

ไปต่อเพื่อความสำเร็จระดับโลก 

มาถึงตอนนี้หลายคนคงสงสัยว่ามีนักเทนนิสคนไหน ที่ผ่านเส้นทางของการเป็นผู้เล่นใน IMG อคาเดมี หรือ แม้แต่ในระดับมหาวิทยาลัย จนสามารถเทิร์นโปรได้ คำตอบมีอยู่หลายคน แต่มีสองชื่อที่แฟน ๆ น่าจะคุ้นหูมากที่สุด นั่นก็คือ เคอิ นิชิโคริ กับ จอห์น อิสเนอร์ 


Photo : TennisHead 

เริ่มจาก เคอิ นิชิโคริ นักเทนนิสชาวญี่ปุ่นที่เข้าสู่ IMG อคาเดมีตั้งแต่อายุเพียง 14 ปี เขาตั้งใจซ้อมและฝึกฝน จนในปี 2014 ก็สร้างประวัติศาสตร์วงการเทนนิสด้วยการเป็นนักเทนนิสชายคนแรกของเอเชียที่ เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศแกรนด์สแลม ในรายการ US Open และผ่านเข้ารอบ ATP World Tour Finals 

นอกจานั้น ในปี 2015 เคอิ ก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นอันดับสูงสุดของญี่ปุ่นในอันดับ 4 ของโลก และคว้าแชมป์ใน ATP World Tour ถึง 12 รายการตลอดอาชีพ

โค้ช เจเซ่ แลมเบิร์ท จาก IMG อคาเดมี เปิดเผยว่า “เราเห็นความมุ่งมั่นและความพยายามของ เคอิ ตั้งแต่เขาเข้ามาอยู่ร่วมกับเรา เขามีความกระหายที่จะพัฒนาการเล่นอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ เคอิ จะเป็นคนพูดไม่ค่อยเก่ง แต่เขาใช้ผลงานของเขาพูดแทนทุกอย่าง” 

ส่วนนักเทนนิสชายอีกคนที่ผ่านเส้นทางของการเล่นในระดับมหาวิทยาลัยก่อนจะเข้าสู่การเป็นผู้เล่นอาชีพคือ จอห์น อิสเนอร์ ชาวอเมริกันเจ้าของส่วนสูง 2 เมตร เติบโตที่รัฐนอร์ธแคโรไลนา ก่อนจะเข้ามาศึกษาที่มหาวิทยาลัย จอร์เจีย ในปี 2002 เขาเล่นที่นั่น 4 ปี เต็มโควตาที่นักกีฬาทุกคนได้รับ แถมยังทำผลงานน่าประทับใจด้วยการชนะ 143 แมตช์ และคว้าแชมป์ของ SIAC ถึง 2 สมัย 


Photo : Indian Express 

เมื่อเรียนจบ เขาตัดสินใจเทิร์นโปรทันที ก่อนจะคว้าแชมป์ใน ATP World Tour มากถึง 15 รายการ และยังเคยขึ้นสู่อันดับ 8 ของโลกมาแล้วในปี 2018 โดยเจ้าตัวออกมายอมรับว่า ประสบการณ์จากการเล่นในระดับมหาวิทยาลัยช่วยเขาได้มาก 

“ผมมาจากเมืองที่ไม่ได้มีโอกาสมากมายให้ผมได้ลงเล่น การมาเล่นที่มหาวิทยาลัย จอร์เจีย ทำให้ผมได้ลงแข่งในหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็นของมหาวิทยาลัยเอง หรือ รายการระหว่างมหาวิทยาลัย การได้ลงเล่นบ่อย ๆ ช่วยให้ผมได้พัฒนาฟอร์มของผมจนมาถึงทุกวันนี้” 

เมื่อกลับมามองภาพรวมของกีฬาเทนนิสในอเมริกา คำว่า “โอกาส” เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะไม่ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มหัดเริ่มเล่นตามสวนสาธารณะ ต้องการเข้าสู่อคาเดมีในวัยเด็ก หรืออยากต่อยอดลงแข่งระดับมหาวิทยาลัย โอกาสที่เปิดกว้างในอเมริกาสำหรับนักเทนนิสมีอยู่มากมาย 

ส่วนเรื่องการเรียนก็ไม่ได้ถูกลืมไปเหมือนกัน การศึกษาเป็นส่วนสำคัญในการช่วยดำเนินการใช้ชีวิต สหรัฐอเมริกาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การเรียนกับการเล่นกีฬาที่ดีและมีประสิทธิภาพสามาระดำเนินไปควบคู่กันได้ 

เพราะฉะนั้นอย่างที่ใครบางคนได้เคยกล่าวไว้ “ชีวิตก็เหมือนการเล่นเทนนิส คนที่รับมือกับสิ่งที่พุ่งมาหาตัวเองได้ดีกว่าคือผู้ชนะ” 

ระบบเทนนิสในสหรัฐอเมริกา พร้อมสร้างเส้นทางให้นักกีฬาทุกคนสามารถออกไปเผชิญกับสิ่งที่พุ่งมาทั้งในและนอกสนามอย่างแท้จริง

mm88